พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์
เปิดเผยถึงความสำเร็จของสินค้าไทยในอีกวาระหนึ่งคือ
กาแฟดอยตุงและกาแฟดอยช้างของไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น GI (Geographical Indication:
GI) หรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จากสหภาพยุโรป (EU) โดยได้ลงประกาศใน EU Official Journal แล้ว เมื่อ 14
ก.ค. 2558 และจะมีผลบังคับใช้ในอีก 20 วัน นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของทรัพย์สินทางปัญญาไทยในเวทีระดับโลก หลัง
"ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้อง" ไห้ได้เป็นสินค้าเกษตรของไทยสินค้าแรกที่ได้ขึ้นทะเบียนใน
EU เมื่อเดือนมีนาคม 2556
โดยประเทศไทยได้ยื่นยื่นคำขอการขึ้นทะเบียนกาแฟดอยตุงและกาแฟดอยช้างใน EU ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2553 และได้ตรวจสอบคำขอของไทยในปี 2557 จึงได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI ใน EU ส่งผลให้กาแฟดอยตุงและกาแฟดอยช้างของไทยสามารถใช้ตรา GI ของ EU ในการทำตลาดได้ เนื่องจากผู้บริโภคในสหภาพยุโรปส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับตรา GI ที่แสดงถึงลักษณะพิเศษและคุณภาพของสินค้า และยอมจ่ายเงินในราคาที่สูงขึ้นเพื่อบริโภคสินค้านั้นๆ
ทั้งนี้ สินค้าที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็น GI จะเป็นสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากสินค้าเดียวกันซึ่งผลิตในพื้นที่อื่น เพราะเชื่อมโยงกับแหล่งภูมิศาสตร์ คือ สภาพดิน น้ำ และอากาศ โดยกาแฟดอยตุงปลูกในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงบนเทือกเขานางนอน จังหวัดเชียงรายมีกลิ่นหอมและรสชาติกลมกล่อมที่มีเอกลักษณ์ ส่วนกาแฟดอยช้างเป็นกาแฟอาราบิก้า สายพันธุ์หลัก คาทูรา คาติมอร์ และคาทุย ที่ปลูกบนหุบเขาดอยช้าง ในตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ซึ่งจากการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวอย่างพิถีพิถัน และกรรมวิธีผลิตที่ได้มาตรฐาน ทำให้กาแฟดอยช้างมีกลิ่นหอมหวาน รสชาติกลมกล่อม ชุ่มคอ
ปัจจุบันไทยขึ้นทะเบียนสินค้า GI แล้ว 70 รายการจาก 53 จังหวัด เช่น ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ส้มโอนครชัยศรี มะขามหวานเพชรบูรณ์ เป็นต้น
โดยประเทศไทยได้ยื่นยื่นคำขอการขึ้นทะเบียนกาแฟดอยตุงและกาแฟดอยช้างใน EU ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2553 และได้ตรวจสอบคำขอของไทยในปี 2557 จึงได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI ใน EU ส่งผลให้กาแฟดอยตุงและกาแฟดอยช้างของไทยสามารถใช้ตรา GI ของ EU ในการทำตลาดได้ เนื่องจากผู้บริโภคในสหภาพยุโรปส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับตรา GI ที่แสดงถึงลักษณะพิเศษและคุณภาพของสินค้า และยอมจ่ายเงินในราคาที่สูงขึ้นเพื่อบริโภคสินค้านั้นๆ
ทั้งนี้ สินค้าที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็น GI จะเป็นสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากสินค้าเดียวกันซึ่งผลิตในพื้นที่อื่น เพราะเชื่อมโยงกับแหล่งภูมิศาสตร์ คือ สภาพดิน น้ำ และอากาศ โดยกาแฟดอยตุงปลูกในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงบนเทือกเขานางนอน จังหวัดเชียงรายมีกลิ่นหอมและรสชาติกลมกล่อมที่มีเอกลักษณ์ ส่วนกาแฟดอยช้างเป็นกาแฟอาราบิก้า สายพันธุ์หลัก คาทูรา คาติมอร์ และคาทุย ที่ปลูกบนหุบเขาดอยช้าง ในตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ซึ่งจากการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวอย่างพิถีพิถัน และกรรมวิธีผลิตที่ได้มาตรฐาน ทำให้กาแฟดอยช้างมีกลิ่นหอมหวาน รสชาติกลมกล่อม ชุ่มคอ
ปัจจุบันไทยขึ้นทะเบียนสินค้า GI แล้ว 70 รายการจาก 53 จังหวัด เช่น ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ส้มโอนครชัยศรี มะขามหวานเพชรบูรณ์ เป็นต้น